วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

บทความที่ 2



วิธีทำอาหารเจ     กินเจ ยึดหลัก 4 ล. ล้าง ลด เลี่ยง เลือก อิ่มบุญ สุขภาพดี











กรมอนามัย แนะกินเจยึด 4 ล. "ล้าง ลด เลี่ยง เลือก" อิ่มบุญ สุขภาพดี (กรมอนามัย)

          กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะประชาชนยึดหลัก 4 ล. ล้าง ลด เลี่ยง เลือก ตลอดกินเจ 10 วัน ช่วยสุขภาพกายดี มีสมาธิ และพลังใจที่เข้มแข็ง
          เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2557 ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ช่วงเทศกาลกินเจ พ่อค้าแม่ค้ามักปรุงประกอบอาหารจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ซึ่งการปรุงประกอบที่ไม่สะอาด ไม่ถูกหลักโภชนาการอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพผู้บริโภคได้
กรมอนามัยจึงแนะหลัก 4 ล. เพื่อสุขภาพที่ดี ดังนี้

           1. ล.ล้าง ต้องล้างวัตถุดิบที่นำมาปรุงประกอบอาหารเจ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ให้สะอาดเพื่อกำจัดยาฆ่าแมลง โดยการล้างด้วยน้ำไหล 2 นาที หรือแช่ด้วยน้ำเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 4 ลิตร หรือน้ำผสมน้ำส้มสายชูครึ่งถ้วยตรงต่อน้ำ 4 ลิตร หรือน้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนตหนึ่งช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร โดยแช่นาน 15-30 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำเปล่าอีก 2 ครั้ง สำหรับผักกาด กะหล่ำปลี ควรคลี่ใบและล้างให้สะอาด

           2. ล.ลด    อาหารเจที่ปรุงเองหรือปรุงจำหน่าย ต้องคำนึงถึงการเติมสารปรุงแต่งอาหารที่ให้รสเค็มหรือหวาน มากจนเกินไป เพราะความเค็มจะมีโซเดียมสูงที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงและทำให้ไตทำงานหนัก ส่วนความหวานจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้ ผู้ปรุงจึงควรลดการเติมซอส ซีอิ้ว น้ำตาล และผู้บริโภคต้องเลือกอาหารเจที่มีรสชาติไม่เค็มหรือหวานจนเกินไป

           3. ล.เลี่ยง ควรเลี่ยงอาหารเจที่มีแป้งมาก และเลี่ยงอาหารประเภทผัด ทอด เพราะมีไขมันสูง หากได้รับมากเกินความจำเป็นของร่างกายจะทำให้น้ำหนักเกินและอ้วนได้ ควรเน้นอาหารเจประเภทต้มที่มีผักเป็นส่วนประกอบ เช่น ต้มจืดเจ ต้มยำเจ พะโล้เจ จับฉ่าย เป็นต้น

           4. ล.เลือก เนื่องจากอาหารเจเป็นอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรเลือกอาหารที่มีถั่วหรือผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น น้ำเต้าหู้ ฟองเต้าหู้ โปรตีนเกษตร นอกจากนี้ ควรเลือกซื้ออาหารเจจากร้านอาหารหรือแผงลอยมีป้ายสัญลักษณ์ อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) เพราะมีความสะอาด ปลอดภัย และมีอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ











          ดร.นพ.พรเทพ กล่าวต่อว่า เทศกาลกินเจเป็นเทศกาลที่ต้องละเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์ ทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการขาดโปรตีนและธาตุเหล็ก โดยเฉพาะเด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วย แม้จะมีผลิตภัณฑ์ที่ทำเลียนแบบเนื้อสัตว์ในรูปแบบต่าง ๆ แต่เป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์จากแป้ง ผู้บริโภคควรเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทั้ง 3 มื้อ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และควรเลือกบริโภคอาหารประเภทธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ รวมทั้งเต้าหู้ โปรตีนเกษตรเป็นแหล่งโปรตีนทดแทน
     
          "การกินเจนอกจากจะช่วยให้อวัยวะภายในทำงานน้อยลง ยังทำให้อวัยวะได้หยุดพัก สุขภาพกายโดยรวมจะดีขึ้น และช่วยให้มีสมาธิ พลังใจที่เข้มแข็ง ซึ่งการดูแลร่างกายและจิตใจไปพร้อม ๆ กัน ก็จะนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี ที่ไม่เพียงแต่เฉพาะในช่วงเทศกาลกินเจเท่านั้น การดูแลสุขภาพของตนเองเป็นประจำด้วยการกินอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ถูกหลักโภชนาการและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ" อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด

หลักในการทำอาหารเจ

ชาวต่างประเทศจำนวนมากที่เดินทางไปประเทศจีน มักจะพากันแปลกประหลาดใจ เมื่อได้พบเห็นภัตตาคาร ซึ่งบริการ "ปรุงอาหารตามใบสั่งแพทย์" มูลเหตุที่สร้างความฉงนสงสัยให้แก่บรรดาผู้มาเยือน ก็เนื่องด้วยทางภัตตาคารจะบริการอาหาร ให้แต่เฉพาะผู้ที่มี "ใบสั่งอาหารของแพทย์" เท่านั้น นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่เคยทราบเลยว่า ลูกค้าที่เข้าไปในภัตตาคารดังกล่าว เป็นคนไข้ที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์และอยู่ในระหว่าง "การบำบัดโรคด้วยอาหารตามหลักเวชศาสตร์โบราณ"  ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่แตกต่างไปจากการรักษาโรคโดยให้ผู้ป่วย "กินยา ตามใบสั่ง" ซึ่งเป็นวิธีที่แพทย์แผนปัจจุบันชาวตะวันตกนิยมปฏิบัติ แต่ในหมู่ชนชาวจีนมีคำกล่าวว่า "อาหารและยามาจากแหล่งเดียวกัน" คำพูดนี้ได้บ่งชี้ว่า อาหารก็คือยานั่นเอง 

          หลักการแพทย์ของจีนมุ่งเน้นไปที่การป้องกันไม่ให้ร่ายกายเจ็บป่วย โดยวิธีดูแลรักษาสุขภาพให้ดี ไม่ใช่เพียงแต่บำบัดอาการเมื่อเกิดเจ็บป่วยขึ้นแล้วเท่านั้น แพทย์จีนกล่าวว่า "หัวใจของการมีสุขภาพที่ดี คือ การกินที่ถูกต้อง เพราะอาหารที่คนเรารับประทานเข้าไปแต่ละวัน มีผลต่อร่างกายและจิตใจอย่างมาก" "อาหารเจ" เป็นอาหารที่ปรุงโดยปราศจากเนื้อสัตว์รวมทั้งไม่มีส่วนประกอบอื่นใด นำมาจากสัตว์ทุกประเภท และที่สำคัญอาหารเจ งดเว้นการปรุงการเสพพืชผักฉุน 5 ประเภทอันได้แก่

          1 กระเทียม (หมายรวมไปถึง หัวกระเทียม ต้นกระเทียม)  
          2 หัวหอม (หมายรวมไปถึง ต้นหอม ใบหอม หอมแดง หอมขาว หอมหัวใหญ่)  
          3 หลักเกียว (คือกระเทียมโทนจีน ลักษณะคล้ายหัวกระเทียม แต่มีขนาดเล็กและยาว กว่า ในประเทศไทยไม่พบว่าปลูกแพร่หลาย)  
          4 กุ้ยฉ่าย (ใบคล้ายใบหอม แต่แบนและเล็กกว่า)  
          5 ใบยาสูบ (บุหรี่ ยาเส้น ของเสพติดมึนเมา) 



         




                 ผักดังกล่าวเหล่านี้ เป็นผักที่มีรสหนัก กลิ่นเหม็นคาวรุนแรง นอกจากนี้ยังมีพิษที่ทำลายพลังธาตุทั้ง 5 ในร่างกาย เป็นมูลเหตุให้อวัยวะหลักสำคัญภายในทั้ง 5 ทำงานไม่ปกติ สำหรับผู้ปฏิบัติสมาธิฝึกจิต ไม่ควรรับประทานเป็นอย่างยิ่ง เพราะผักดังกล่าวมีฤทธิ์กระตุ้นจิตใจอารมณ์ให้เร่าร้อนใจคอหงุดหงิดง่าย และยังมีผลทำให้พลังธาตุในกายรวมตัวกันได้ยาก เพราะฉะนั้น โดยหลักเกณฑ์ที่มีมาแต่ครั้งบรรพกาลกล่าวได้ว่า "อาหารเจ" หรือ "อาหารของคนกินเจ" จึงเป็นอาหารที่ปรุงและรับประทานตามหลักเวชศาสตร์และเภสัชศาสตร์โบราณของจีนนั่นเอง

          ปัญหาที่มีผู้ถามกันมาก คือ กระเทียม ซึ่งทางการแพทย์และเภสัชค้นพบว่า มีสารที่สามารถละลายไขมันในเส้นโลหิต (คลอเลสเตอรอล) จึงใช้รับประทานเป็นยาได้ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเส้นเลือดโลหิตเลี้ยงหัวใจตีบหรืออุดตัน เป็นต้น ในเรื่องนี้เป็นความจริงทีเดียว แม้ทางการแพทย์แผนโบราณของจีนก็ยืนยันตรงกันว่ากระเทียมเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้ "แม้ว่ากระเทียมจะเป็นยาดี แต่เนื่องจากมีความระคายเคืองสูง ผู้ที่เป็นโรคกะเพาะหรือกะเพาะอาหารเป็นแผลและโรคตับอย่ากินมาก" (จากหนังสือ อาหารเป็นยาได้ เล่ม 2 โดย วีรชัย มาศฉมาดล) แต่ในกรณีของคนปกติทั่วๆ ไปที่ร่างกายไม่ได้ป่วยเป็นโรคใดๆ เลย ทำไมจึงต้องรับประทานยาเข้าไปทุกๆ วัน ฉะนั้นจึงเข้าทำนองเดียววักนับ คนที่ไม่ได้ป่วยเป็นไข้หวัด แต่ก็ยังคงกินยาแก้หวัดเข้าไปเป็นประจำทุกๆ วัน ผลก็คือ แทนที่จะเป็นผลดีกลับกลายเป็นผลร้าย ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายเสียอีก

          ขอยกตัวอย่างในกรณีของผักฉุนอีกชนิดหนึ่งที่คนกินเจไม่รับประทานได้แก่ หอมแดง ซึ่งกล่าวไว้ในตำราสมุนไพรที่นักเภสัชศาสตร์ปัจจุบัน พบว่ามีสรรพคุณช่วยรักษาโรคโดยวิธี "นำหอมแดงหัวสดๆ หนัก 15-30 กรัม มาต้มแล้วดื่ม จะช่วยขับพยาธิ ขับลม แก้ท้องอืดแน่น ปวดประจำเดือน และอาการบวมน้ำ" แต่ในท้ายก็ได้ระบุพิษร้ายของมันไว้ด้วยว่า "ในกรณีที่บริโภคอยู่เป็นประจำหรือกินมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการหลงลืมง่าย ประสาทเสีย มีกลิ่นตัว ฟันเสีย เลือดน้อย และนัยน์ตาฝ้ามัว" (จากหนังสือ พืชสมุนไพรใช้เป็นยา เล่ม 8 โดย ภูมิพิชญ์ สุชาวรรณ) เพราะฉะนั้น เราจึงควรศึกษาให้ถี่ถ้วนลึกซึ้งถึงคุณและโทษของผักฉุนทั้ง 5 ให้รอบคอบเสียก่อน ไม่เป็นการฉลาดเลยที่จะรับประทานสิ่งใดก็ตาม โดยมองเห็นแต่ด้านดี จนไม่ใส่ใจในโทษของมันบ้างเลย ผักฉุนทั้ง 5 ชนิด ที่คนกินเจไม่บริโภค 1 กระเทียม (GARLIC) 2 หัวหอม (ONION) 3 หลักเกียว (หัวกระเทียมโทนของจีน) ไม่พบว่ามีการปลูกแพร่หลายในประเทศไทย) กุ้ยฉ่าย (CHINESE CHIVE) 5 ใบยาสูบ (TOBACCO)

          ถั่วทั้ง 5 สี ที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย

          1 ถั่วแดง (RED BEANS)  
          2 ถั่วดำ (BLACK BEANS)   
          3 ถั่วเหลือง (SOY BEANS)   
          4 ถั่วเขียว (GREEN BEANS)   
          5 ถั่วขาว (WHITE BEANS)










          อาหารเจสำหรับคนไทยสามารถทำได้ทุกอย่างโดยใช้เครื่องปรุงเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ดังนี้
          
         1. เนื้อสัตว์ ใช้แทนด้วย เห็ดต่างๆ เต้าหู้ ฟองเต้าหู้ หมี่กึน โปรตีนเกษตร
          2. น้ำปลา ใช้แทนด้วย ซีอิ้วขาว เกลือป่น ซอสถั่วเหลืองปรุงรส
          3. กระปิ ใช้แทนด้วย ถั่วหมัก เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ แต่ปัจจุบั้นกระปิเจ ปลาร้าเจ ก้มีจำหน่ายแพร่หลายในรายขายของชำ
          4. น้ำมันหมู ใช้แทนด้วย น้ำมันพืช โดยเฉพาะน้ำมันถั่วเหลือง
          5. กระเทียม ใช้แทนด้วย งาขาวคั่ว



ข้อควรปฏิบัติ

          1. ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าข้าวขาวขัดสี ควรบริโภคเป็นประจำ หรือผสมกับข้าวขาวในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ก็ได้

          2. การได้รับประทานสาหร่ายทะเลทั้งสดและแห้ง พร้อมทั้งใช้เกลือทะเลมาปรุงลงในอาหาร ทั้ง 2 อย่างนี้มีไอโอดีน ซึ่งสามารถป้องกันโรคคอพอกได้เป็นอย่างดี

          3. งาขาวและงาดำ ในอาหารและขนมคนกินเจควรใช้งาปรุงผสมด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็นงาขาวหรืองาดำ เพราะในเมล็ดงามีกรดไขมันไลโนเลอิค (LINOLEIC ACID) ซึ่งจำเป็นต่อร่างกายมาก แต่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้
สำหรับผู้ทำอาหารเจรับประทานเอง ให้นำงาขาวมาล้างเอาผงฝุ่นออกจนสะอาดดี ตักใส่ตะแกรงทิ้งไว้ให้หมาดแล้วใช้ไฟอ่อนๆ คั่วในกระทะจนสุกเหลือง พอเย็นจึงนำมาโขลกหรือปั่นให้แตกด้วยเครื่อง จะทำให้ได้ประดยชน์จากน้ำมันที่อยู่ในเมล็ดดียิ่งขึ้น งาที่บดแล้วจะมีกลิ่นหอมสามารถนำใช้ปรุงอาหาร และขนมได้ทุกประเภท ทำให้มีรสดี หมอน่ารับประทาน โดยปกติผู้ที่กินเจควรรับประทานงาในปริมาณวันละ 2 ช้อนโต๊ะ ก็นับว่าเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย

          4. อาหารเจไม่ควรปรุงรสจัดเกินไป เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด ขมจัด เปรี้ยวจัด หวานจัด รสชาติที่จัดมากๆ จะส่งผลให้ไม่ดีต่อวัยวะหลักภายในร่างกาย

          5. หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารหมักดอง เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง เครื่องกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป ควรหันมารับประทานอาหารสดที่ปรุงใหม่ๆ จะให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า

          6. เครื่องดื่ม คนกินเจควรดื่มน้ำผลไม้สดๆ ตามธรรมชาติ เช่น น้ำส้ม น้ำมะเขือเทศ น้ำสับปะรด น้ำอ้อย น้ำมะพร้าว น้ำใบบัวบก น้ำมะตูม ฯลฯ
น้ำผลไม้ดังกล่าวจะทำให้ร่างกายและผิวพรรณสดชื่น เปล่งปลั่ง เราควรงดน้ำหวานที่ปรุงแต่งรส และเจือสีสังเคราะห์ เพื่อหลีกเลี่ยงพิษภัยจากสิ่งปนปลอม
นอกจากการดื่มน้ำผลไม้สดๆ แล้ว ทุกคนต้องดื่มน้ำสะอาดให้ได้วันละ 8 แก้ว เป็นประจำ

          ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นหลักความรู้ในการปรุงและบริโภคอาหารเจ ซึ่งคนกินเจต้องยึดถือปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งพลานามัยที่สุขสมบูรณ์พร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ


วิธีกินอาหารเจให้ปลอดภัย
          นักโภชนาการกระทรวงสุขภาพแนะ 5 เคล็ดลับกินอาหารเจให้ถูกวิธี กินอาหารให้ครบ 5 หมู่  กินผักให้หลายชนิด หลีกเลี่ยงอาหารเจมันๆ จัดๆ ที่สำคัญก่อนซื้อควรดูป้ายตลาดสดน่าซื้อด้วย

          นายสง่า ดามาพงษ์ นักโภชนาการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การงดเว้นกินเนื้อสัตว์ช่วงเทศกาลถือศีลกินเจถือเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นประเพณีที่ส่งเสริมให้คนกินผัก อย่างไรก็ตามการกินเจให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพ ไม่ขาดสารอาหารโปรตีน คือ

          1.กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยหมวดโปรตีนได้จากถั่วเมล็ดแห้ง รับประทานควบคู่ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือจะได้โปรตีนจากพืชทัดเทียมจากเนื้อสัตว์

          2.รับประทานผักหลากหลายชนิด ไม่ควรกินผักอย่างเดียวซ้ำ ๆ เพื่อให้ได้วิตามินเกลือแร่ครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และหลีกเลี่ยงการได้รับสารพิษ นอกจากนั้นต้องล้างผักให้สะอาด เพราะถ้าล้างไม่สะอาดเท่ากับว่าอาหารเจจานนั้นเป็นศูนย์รวมของสารพิษ

          3.พยายามหลีกเลี่ยงการกินอาหารเจที่รสมันจัดจากอาหารประเภทผัด รสเค็มจัดจากการใส่เต้าเจี้ยว ซอส และเกลือ เนื่องจากรสเค็มทำให้ภาวะ ความดันโลหิตสูงได้

          4.กินอาหารเจให้หลากหลายชนิด อย่ากินอย่างเดียว เมนูอาหารเจควรเปลี่ยนแปลงเรื่อย ๆ สำหรับผักสะอาดปลอดภัยซื้อได้จากตลาดสดที่ได้ป้ายรับรองเป็น ตลาดสดน่าซื้ออาหารมีป้ายคลีน ฟู้ดส์กู๊ดเทส ของกรมอนามัย








แหล่งที่มา :



บทความที่ 1

ประโยชน์ของมังคุด ราชินีแห่งผลไม้ไทยที่ต้องลิ้มลอง






                   ประโยชน์ของมังคุด สรรพคุณของมังคุด มีมากหลาย วันนี้เรามีบทความเกี่ยวกับมังคุดมาฝาก          
  ย่างเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว นับว่าเป็นข่าวดีของคนทำไร่ทำสวน เพราะจะมีผลไม้ผลิดอกออกผลมาจำหน่ายแก่ผู้บริโภคมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เงาะ น้อยหน่า หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งมังคุดซึ่งถือว่าเป็นผลไม้ที่อร่อยมาก และยังได้ชื่อว่าเป็นราชินีของผลไม้ในประเทศไทยอีกด้วย วันนี้ ทางกระปุกดอทคอมจึงได้นำความรู้และประโยชน์ของมังคุดมาฝากกันค่ะ



 มังคุดกับความเป็นมา
มังคุด เป็นผลไม้ที่อยู่คู่คนไทยมานาน แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จักมังคุดได้เป็นอย่างดี ซึ่งมังคุดมีชื่อเรียกต่าง ๆ และมีความเป็นมา ดังนี้
          มังคุด ชื่อภาษาอังกฤษคือ mangosteen มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Garcinia mangostana Linn. มีชื่อเรียกในภาษามลายูว่ามังกุสตาน manggustan ภาษาอินโดนีเซียเรียกมังกีส ภาษาพม่าเรียกมิงกุทธี ภาษาสิงหลเรียกมังกุส เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบเขตร้อนชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ แพร่กระจายพันธุ์ไปสู่หมู่เกาะอินดีสตะวันตกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 แล้วจึงไปสู่กัวเตมาลา ฮอนดูรัส ปานามา เอกวาดอร์ ไปจนถึงฮาวาย
          ในประเทศไทยมีการปลูกมังคุดมานานแล้วเช่นกัน เพราะมีกล่าวถึงในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 นอกจากนั้น ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราชยังเคยเป็นที่ตั้งของวังที่มีชื่อว่า "วังสวนมังคุด" ในจดหมายเหตุของราชทูตจากศรีลังกาที่เข้ามาของพระสงฆ์ไทย ได้กล่าวว่ามังคุดเป็นหนึ่งในผลไม้ที่นำออกมารับรองคณะทูต








ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมังคุด

          มังคุด มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ดังนี้
 มังคุดเป็นไม้ยืนต้น สูง 10-12 เมตร ทุกส่วนมียางสีเหลือง ใบเดี่ยว เนื้อใบหนาและค่อนข้างเหนียวคล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง สมบูรณ์เพศหรือแยกเพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลืองติดอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสีแดง ฉ่ำน้ำ ผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม เปลือกนอกค่อนข้างแข็ง เมื่อแก่เต็มที่มีสีม่วงแดง ยางสีเหลือง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 เซนติเมตร เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ อาจมีเมล็ดอยู่ในเนื้อผลได้ ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของผล จำนวนกลีบของเนื้อจะเท่ากับจำนวนกลีบดอกที่อยู่ด้านล่างของเปลือก เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร 
          ส่วนของเนื้อผลที่กินได้ของมังคุดเป็นชั้นเอนโดคาร์ป (endocarp) ซึ่งพัฒนามาจากเปลือกหุ้มเมล็ดเรียกว่า aril มีสีขาว มีกลิ่นหอม ส่วนล่างสุดของผลที่เป็นแถบสีเข้มที่ติดอยู่เรียงเป็นวงพัฒนามาจากปลายยอดเกสรตัวเมีย (stigma) มีจำนวนเท่ากับจำนวนเมล็ดภายในผล เมล็ดมังคุดเพาะยากและต้องได้รับความชื้นจนกว่าจะงอก เมล็ดมังคุดเกิดจากชั้นนิวเซลลาร์ ไม่ได้มาจากการปฏิสนธิ เมล็ดจะงอกได้ทันทีเมื่อออกจากผลแต่จะตายทันทีที่แห้ง
          มังคุดมีพันธุ์พื้นเมืองเพียงพันธุ์เดียว แต่ถ้าปลูกต่างบริเวณกันอาจมีความผันแปรไปได้บ้าง ในประเทศไทยจะพบความแตกต่างได้ระหว่างมังคุดในแถบภาคกลางหรือมังคุดเมืองนนท์ ที่ผลเล็ก ขั้วยาว เปลือกบาง กับมังคุดปักษ์ใต้ที่ผลใหญ่กว่า ขั้วผลสั้น เปลือกหนา 








 ประโยชน์ของมังคุด สรรพคุณ 

  มังคุดเป็นผลไม้จากเอเชียที่ได้รับความนิยมมาก ได้รับขนานนามว่าเป็น "ราชินีของผลไม้" อาจเป็นเพราะด้วยลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่หัวขั้วของผลคล้ายมงกุฎของพระราชินี ส่วนเนื้อในก็มีสีขาวสะอาด มีรสชาติที่หวานอร่อ
  เนื้อมังคุด
          มีการนำมังคุดมาประกอบอาหารบ้างทั้งอาหารคาว เช่น แกง ยำ และอาหารหวาน เช่น มังคุดลอยแก้ว แยมมังคุด มังคุดกวน มังคุดแช่อิ่ม ในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีการทำมังคุดคัด ด้วยการแกะเนื้อมังคุดห่ามออกมาเสียบไม้รับประทาน ในขณะที่ส่วนใหญ่จะนิยมรับประทางมังคุดสุกเป็นผลไม้ ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย มีส่วนช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสอีก    นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันอาการไข้ (ไข้ระดับต่ำ) ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มพลังงานแก่ร่างกาย เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว ออกฤทธิ์ต้านสิวอักเสบได้ดี และมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า ลดความเครียด
          การรับประทานมังคุดเป็นประจำ จะช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพจิตดี อารมณ์ดีอยู่เสมอ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย และลดไขมันที่ไม่ดีในเส้นเลือด มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดเนื้องอกในร่างกาย มีสวนช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ด้วยคุณสมบัติในการลดและควบคุมระดับน้ำตาลอีกด้วยเนื้อมังคุด มีเส้นกากใยสูง ช่วยเรื่องการขับถ่ายและมีวิตามินเกลือแร่สูงมาก เช่น กรดอินทรีย์ น้ำตาล แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก
เปลือกมังคุด
  ส่วนเปลือกของมังคุดมีสารให้รสฝาด คือแทนนิน แซนโทน (โดยเฉพาะแมงโกสติน) ซึ่งแทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว ส่วนแมงโกสตินช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้ดี ในทางยาสมุนไพรใช้เปลือกมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำหรือย่างไฟ ฝนกับน้ำปูนใส แก้ท้องเสีย เปลือกแห้งฝนกับน้ำปูนใสใช้รักษาอาการน้ำกัดเท้าแผลเปื่อย นอกจากนี้ เปลือกมังคุดมีสารป้องกันเชื้อราเหมาะแก่การหมักปุ๋ย ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย ใช้เปลือกผลแห้งรักษาแผลเปิด
 น้ำมังคุด
 น้ำมังคุดช่วยปรับระดับภูมิคุ้มกันให้สมดุล ด้วยการหลั่งสาร Interleukin Iและ Tumor Necrosis Factor ช่วยยับยั้งการหลั่งสารฮีสตามีน ลดอาการแพ้ภูมิตนเอง (ในโรค SLE) และลดการอักเสบ ในผู้ป่วยเบาหวาน ตับเสื่อม ไตวาย ข้อเข่าเสื่อม ความดันโลหิตสูง โรคพาร์กินสัน ไทรอยด์เป็นพิษ ความผิดปกติของสมองอันเนื่องจากการอักเสบ 



   
 มังคุดกินแล้วอ้วนไหม

           หลายคนสงสัยเหลือเกินว่ามังคุดกินแล้วจะอ้วนไหม เรามาดูกันดีกว่าว่าเป็นอย่างไร
  แม้มังคุดจะมีรสชาติหวานแต่มีพลังงานต่ำ แคลอรี่น้อย จึงไม่ต้องกลัวอ้วน แถมทางการแพทย์นั้นยังยืนยันว่ามังคุดเป็นอาหารเสริมที่ดีซึ่งช่วยลดความอ้วนได้ด้วยมังคุดเป็นผลไม้ที่มีเส้นใยสูง จึงเป็นประโยชน์ต่อการขับถ่ายทำให้ท้องไม่อืด และป้องกันมะเร็งลำไส้ได้ จึงนับว่าเป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก


 มังคุดมีกี่กิโลแคลอรี
 ในมังคุด 100 กรัม จะมีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้  
           แคลอรี่ 60-63
           น้ำ 80.20-84.90 กรัม
           โปรตีน 0.50-0.60 กรัม
           ไขมัน 0.10-0.60 กรัม
           แคลเซียม 0.01-8.00 มิลลิกรัม
           เหล็ก 0.20-0.80 มิลลิกรัม
           กรดแอสคอร์ปิก 1.0-2.00 มิลลิกรัม
           คาร์โบไฮเดรต 14.30-15.60 กรัม
           ใยอาหาร 5.00-5.10 กรัม
           เถ้า 0.20-0.23 กรัม
           ซูโครส กลูโคส ฟรุกโตส 16.42-16.62 กรัม
           ฟอสฟอรัส 0.02-12.00 มิลลิกรัม
           ไทอามีน 0.03 มิลลิกรัม






 มังคุดป้องกันเชื้อ HIV หรือเปล่า

          มังคุดมีประโยชน์นานัปการ ในส่วนของเชื้อเอชไอวี (HIV) นั้น มังคุดอาจจะไม่ได้ป้องกันเชื้อ HIV แต่ก็ช่วยยับยั้งเชื้อ HIV บางตัว โดย ศ.พิชญ์ ศุภผล อาจารย์วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวไว้ดังนี้
        เปลือกมังคุดมีคุณสมบัติมากหลาย หากนำเปลือกด้านในของมังคุดมาผ่านกรรมวิธีพิเศษทางเคมี จะสามารถสกัดได้สารแซนโทน (Xanthones) ในปริมาณสูง ซึ่งสารดังกล่าวมีสรรพคุณทางการแพทย์ที่สำคัญ คือ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ สมานแผล รักษาเซลล์มะเร็ง ฆ่าเชื้อก่อโรคทางเดินระบบหายใจร้ายแรงได้ และมีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อไวรัส HIV บางตัว
        เช่นเดียวกับ นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 323 เขียนโดย ภกญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร กล่าวว่า สารสกัดเมทานอลและสารจากเปลือกผลมังคุด ช่วยยับยั้งเอนไซม์โพรทีเอส (HIV-1 pro-tease) ซึ่งเป็นเชื้อที่จำเป็นต่อวงจรชีวิตของเชื้อ HIV และสารสกัดน้ำและสารสกัดเมทานอลจากเปลือกผลมังคุด ยังสามารถยับยั้งเอนไซม์รีเวอร์สทรานสคริปเทส (reverse transcriptase) ในเชื้อ HIV อีกด้วย







 มังคุดกับการรักษาโรคมะเร็ง

           นอกจากจะยับยั้งเชื้อ HIV บางตัวแล้ว มังคุดยังสามารถป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งเกือบทุกชนิดได้ โดยศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) และ ม.เชียงใหม่ ได้ค้นพบสูตรสารต้านมะเร็งจากมังคุดทั้งลูก
          โดยสารสกัดจากมังคุดช่วยสร้างเม็ดเลือดขาวชนิด ทีเอช 1 (Th1) และ ทีเอช 17 (Th17) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยกำจัดและป้องกันการก่อเกิดเซลล์มะเร็งเกือบทุกชนิดได้ และน้ำมังคุดยังสร้างเม็ดเลือดขาวชนิดเทร็ก (Treg) ที่ช่วยจัดระเบียบให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสมดุล ขณะที่ผลทดลองกับผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้ายพบว่า คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
          นอกจากนี้หัวหน้าทีมวิจัย ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา ผู้ก่อตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย กล่าวว่า สารสกัดจากมังคุดสามารถสร้างเม็ดเลือดขาว TH-1 ที่เป็นสารช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย และสามารถป้องกันโรคได้โดยเฉพาะเซลล์มะเร็ง

 มังคุดต้มสุก หรือ มังคุดนึ่ง ดีจริงหรือ?

          ปัจจุบันคนไทยมักนิยมวิธีการดูแลสุขภาพที่หลากหลาย การนำเอามังคุดมาต้มหรือนึ่ง เพื่อได้ประโยชน์จากเปลือกมังคุดก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมกัน ทำให้มีการแชร์วิธีนี้ในโลกสังคมออนไลน์และมีผู้พูดถึงกันอย่างมาก เพราะเชื่อกันว่ากินมังคุดด้วยวิธีนี้แล้วจะช่วยป้องกันได้สารพัดโรค ผิวพรรณจะสวย ผ่องใส ซึ่งวิธีดังกล่าวได้มีการอธิบายไว้ ดังนี้
          เนื้อเปลือกของมังคุดมีสารแซนโทนมากกว่า 40 ชนิด หนึ่งในสารดังกล่าวมีสารแอลฟา-แมงโกสติน ซึ่งเป็นผลึกสีเหลืองอยู่ภายในเนื้อเปลือก เป็นสารแซนโทนตัวหนึ่งในกลุ่มสารแซนโทนที่มีอยู่ทั้งหมด ซึ่งละลายได้ในน้ำร้อน ทั้งนี้ยังมีสารแซนโทนตัวอื่น ๆ อีก ที่อยู่ในรูปของไกลโคไซด์ ละลายได้ในน้ำ นอกจากกลุ่มสารแซนโทนแล้ว ในเนื้อเปลือกผลมังคุดยังมีกลุ่มสารแอนโทไซยานิและกลุ่มสารแทนนิน แยกเป็นคอนเดนซ์แทนนิน ไฮโดรไลซาเบิลแทนนิน ซึ่งเป็นสารพวกโพลีฟีนอล เมื่อรวมกันเข้าแล้วจึงมีคุณสมบัติร่วมกันอย่างที่นำไปใช้กันอยู่
          การต้ม หรือ การนึ่ง เป็นการทำเพื่อให้สารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเนื้อเปลือกมังคุดซึมออกมา การสกัดสารแบบนี้อาจจะได้สารที่เป็นประโยชน์ไม่มากนัก แต่ก็เพียงพอต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ ซึ่งสามารถทำได้ง่าย
          อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ยังไม่มีข้อมูล งานวิจัยหรือการทดลองที่แน่ชัด ควรหาข้อมูลอย่างรอบคอบก่อนนำไปปฏิบัติ
         น้ำหมักเปลือกมังคุด คืออะไร มีประโยชน์หรือโทษอย่างไร มีการอธิบายไว้ ดังนี้
          มังคุดเป็นผลไม้ที่เปลือกมีคุณประโยชน์สูง บางข้อมูลอ้างว่าหมักแค่เปลือกก็ได้คุณประโยชน์มหาศาล ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางก็นิยมนำเปลือกไปสกัดสารออกฤทธิ์เพื่อใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง แม้แต่น้ำมังคุดยังมีออกจำหน่ายเป็นบิวตี้ดริงค์ ในมังคุดมีสารที่เรียกว่า แซนโทน (xanthones) ซึ่งมีมากในเปลือก ผล และเมล็ด มีน้อยในเนื้อผล ทำให้หลายคนที่มีความเชื่อเรื่องคุณประโยชน์ในเปลือกมังคุด นิยมทำน้ำหมักเปลือกมังคุดรับประทาน
                ทั้งนี้ อย. ได้มีการให้ข้อมูลว่า ในมังคุด มีสารแซนโทน (xanthones) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ต้านมะเร็ง และแก้แพ้ อย่างไรก็ตาม ยังขาดข้อมูลการทดลองทางคลินิกที่สนับสนุนว่าการบริโภคมังคุดสามารถมีฤทธิ์รักษาโรคดังกล่าวได้ จึงได้เตือนประชาชนผู้บริโภคว่า อย่าหลงเชื่อการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง โดยเฉพาะการหวังผลในการบำบัดรักษา หรือบรรเทาอาการของโรค









เมล็ดมังคุดทานได้ไหม

          หลายคนชอบทานมังคุดเป็นอย่างมาก พอทานแล้วเคี้ยวเพลิน ๆ ก็อยากจะเคี้ยวเมล็ดมังคุดลงไปด้วย ทั้งนี้การทานเมล็ดมังคุดนั้นไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด เพียงแต่เมล็ดมังคุดอาจมีรสฝาด ทำให้ไม่นิยมทานกันเท่าที่ควร และอาจยังทำให้ติดคอเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นหลีกเลี่ยงการกลืนเมล็ดมังคุดเมล็ดใหญ่ ๆ ย่อมจะเป็นการดีกว่า
          ทั้งนี้ กองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า ปกติหลายคนมักจะทิ้งเปลือกและเมล็ดมังคุดไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะไม่ทราบประโยชน์ ซึ่งความจริงแล้วในเมล็ดมังคุดมีกรดไลโนเลอิก ที่ร่างกายต้องการและสร้างขึ้นไม่ได้ ต้องรับจากอาหารภายนอกเท่านั้น หากรับประทานมังคุดแล้วเคี้ยวเมล็ดกลืนไปด้วยจะได้รับประโยชน์จากกรดนี้
          นอกจากนี้ นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 323 เขียนโดย ภกญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร ให้ข้อมูลว่า บางประเทศนิยมนำเมล็ดของมังคุดมาต้มหรือคั่วกินเป็นของว่างอีกด้วย



 โทษของมังคุด

          ในมังคุดมีสารแซนโทน (Xanthone) ในปริมาณมาก แม้จะมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง และอาการแพ้ต่าง ๆ แต่ก็ยังขาดข้อมูลในการสนับสนุนว่ามังคุดจะสามารถรักษาอาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้จริง ถึงแม้ยังไม่มีรายงานการศึกษาความเป็นพิษในมนุษย์ แต่ก็พบอาการไม่พึงประสงค์หลายอย่างในแต่ละบุคคล เช่น มีอาการผิวหนังบวมแดง เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว ปวดศีรษะ ปวดบริเวณข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย ถ่ายเหลว ลำไส้แปรปรวน เป็นต้น
          นอกจากนี้มังคุดยังมีสารแทนนิน (Tannin) ที่อยู่ในเปลือกของมังคุด หากบริโภคมากเกินไปและต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับ ไต การเกิดมะเร็งในร่องแก้ม ในทางเดินอาหารส่วนบน และยังไปลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวจนทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงจากปกติ
          ดังนั้นการรับประทานที่ดีที่สุดคือการรับประทานอย่างมีสติ ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานผลไม้ให้หลากหลาย ไม่ซ้ำกัน ไม่อย่างนั้นผลไม้ที่มีประโยชน์มากมายมันอาจจะกลายเป็นโทษต่อร่างกายเสียเอง


  

  

แบบฝึกหัด
บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ                                                    
                                                                                                                                                                          กลุ่มที่เรียน  2

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                                                                      รหัสวิชา 0026 008
 ชื่อ สกุล  นางสาว ปรียานุช  ทิพย์ราช   รหัส  57011015106

                                         

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน

1)      การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล        
  -   แผ่นซีดี
 -    ฮาร์ดดิสท์
-     USB ไดร์ฟ
  2)     การแสดงผล
-    จอภาพคอมพิวเตอร์
-    จอโปรเจ๊กเตอร์
-    เครื่องพิมพ์
3)      การประมวลผล   
  -     ซอฟต์แวร์
  -     ฮาร์ดแวร์
  -      OS              

4)      การสื่อสารและเครือข่าย
-      อินเตอร์เน็ต
-      การประชุมผ่านทางจอภาพ
-      ห้องสมุดอีเล็กทรอนิกส์

2.ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความที่สัมพันธ์กัน

…… ซอฟต์แวร์ประยุกต์
8. (โปรแกรมระบบห้องสมุด จัดเป็ฯซอฟต์แวร์ประเภท..)

…… Information Technology
3 ( เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับ   สารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง และความรวดเร็วในการนำไปใช้)

…… คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
 1 (ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูล)

……เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
6 (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  เทคโนโลยี การสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง)

……ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการททำงาน
 10 (ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ) 

…… ซอฟต์แวร์ระบบ
 7 (โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์)

…… การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดีย ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตามระดับความสามารถ
 9 (CAI)

…… EDI
5 (การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย)

…… การสื่อสารโทรคมนาคม
4 (มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน คือ Sender-Medium และ Decoder

……บริการชำระภาษีออนไลน์

2 (e-Revenue)
 แบบฝึกหัด บทที่ 3   การรู้สารสนเทศ                                                                                                                 กลุ่มที่เรียน  

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                                                                          รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ สกุล  นางสาว ปรียานุช  ทิพย์ราช   รหัส  57011015106
            
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ
ก. ความสามารถในการกลั่นกลอง และประเมินค่าสารสนเทศที่หามาได้
ข. ความสามารถในการตัดสินใจใช้สารสนเทศรูปแบบต่างๆ
ค. ความสามารถของบุคคลในการสืบค้นและพัฒนาสารสนเทศ
ง. ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้งานสารสนเทศ  
 (ตอบ)ง. ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้งานสารสนเทศ

2. จากกระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการไหนสำคัญที่สุด
ก. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
ข. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
ค. ความสามารถในการประมวลผลสารสนเทศ
ง. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ  (
 (ตอบ)ง. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ  (ตอบ

3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
ก. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้  
ข. สามารถใช้สารสนเทศในการดำเนินชีวิต
ค. ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม
ง. ใช้คอมพิวเตอร์ในการแสวงหาสารสนเทศได้
    (ตอบ)ก. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้  


4.ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
ก.  โลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยเน้นวัตถุนิยมมากขึ้น
ข.  ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
ค.  สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง  
ง.   ช่วยบุคคลเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  (ตอบ)    ค.  สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง


5. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
1. ความสามารถในการประมวลสารสนเทศ
2. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
3. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
5. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ

ก. 1-2-3-4-5                 ข. 2-4-5-3-1              ค. 5-4-1-2-3    (ตอบ)        
 ง. 4-3-5-1-2

 (ตอบ)ค. 5-4-1-2-3